อุทยานแห่งชาติแม่วงก์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอปางศิลาทอง จังหวัดกำแพงเพชร และอำเภอแม่วงก์ และกิ่งอำเภอแม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำลำธาร ตามเทือกเขาสูงชันก่อกำเนิดเป็นน้ำตกที่สวยงาม 4-5 แห่ง ทั้งเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ที่สำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ นอกจากนี้ยังมีแก่งหินทำให้เกิดน้ำตกเล็กๆ ตามแก่งหินนี้ ตลอดจนมีหน้าผาที่สวยงามตามธรรมชาติ มีเนื้อที่ประมาณ 558.750 ไร่ หรือ 894 ตารางกิโลเมตรด้วย นายสวัสดิ์ คำประกอบ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้มีหนังสือจากสำนักนายกรัฐมนตรีที่ นร 0104/9871 ลงวันที่ 2 สิงหาคม 2526 ถึงปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (ดร.เถลิง ธำรงนาวาสวัสดิ์) ขอให้จัดพื้นที่ป่าแม่วงก์-แม่เปิน จังหวัดนครสวรรค์ซึ่งมีสภาพธรรมชาติและน้ำตกที่สวยงามหลายแห่ง สภาพป่าอุดมสมบูรณ์และเป็นป่าต้นน้ำลำธาร กำหนดเป็นอุทยานแห่งชาติ กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงได้มีคำสั่งกรมป่าไม้ที่ 1290/2526 ลงวันที่ 26 สิงหาคม 2526 ให้นายชัยณรงค์ จันทรศาลทูล นักวิชาการป่าไม้ 4 ไปดำเนินการสำรวจหาข้อมูล ปรากฏว่า พื้นที่ดังกล่าว ส่วนใหญ่เป็นเทือกเขาสูงเป็นต้นกำเนิดของลำน้ำแม่วงก์ มีเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตกแม่กระสาหรือแม่กี ซึ่งสูงประมาณ 200 เมตร และหน้าผาต่างๆ สภาพป่าที่อุดมสมบูรณ์ด้วยพันธุ์ไม้และสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมที่จะจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามหนังสือรายงานผลการสำรวจ ที่ กษ 0713/พิเศษ ลงวันที่ 19 ธันวาคม 2526กองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ ได้นำเสนอคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ซึ่งมีมติในการประชุมครั้งที่ 1/2528 เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2528 เห็นชอบให้กำหนดพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าคลองขลุงและป่าคลองแม่วงก์ในท้อง ที่ตำบลปางตาไว อำเภอคลองขลุง (ปัจจุบันเป็นอำเภอปางศิลาทอง) จังหวัดกำแพงเพชร และป่าแม่วงก์–แม่เปิน ในท้องที่ตำบลแม่เลย์ และตำบลห้วยน้ำหอม อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ (ปัจจุบันเป็นตำบลแม่เลย์ อำเภอแม่วงก์ และตำบลแม่เปิน กิ่งอำเภอแม่เปิน) เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งประกาศไว้ในราชกิจจานุเบกษาเล่ม 104 ตอนที่ 183 ลงวันที่ 14 กันยายน 2530 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 55 ของประเทศสถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ
น้ำตกแม่กระสา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ที่สูงที่สูงที่สุดในบริเวณนี้ มีความสูงกว่า 1,000 เมตร มีชั้นลดหลั่นถึง 9 ชั้น มีบางชั้นที่มีความสูงถึง 270 เมตร น้ำไหลแรงสวยงามตลอดปี อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 21 กิโลเมตร ต้องเดินเท้าเข้าไป ใช้เวลาเดินไปกลับ 3-4 วัน
น้ำตกแม่รีวา เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ มีแอ่งน้ำลักษณะเป็นอ่างกลมกว้างราว 30-40 เมตร รับสายน้ำที่ตกลงมาเป็นชั้นๆ มีทั้งหมด 5 ชั้น ชั้นที่ 3 มีความสูงที่สุดประมาณ 100 เมตร มีสภาพสวยงามมาก น้ำตกแม่เรวาอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 21 กิโลเมตร การเดินทางต้องเดินเท้าไปกลับ 3-4 วัน
น้ำตกแม่กี เป็นน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 200 เมตร แบ่งเป็นชั้นๆ ถึง 9 ชั้น น้ำไหลเกือบตลอดปี การเดินทางต้องเดินเท้าไปกลับ 3 วัน น้ำตกแห่งนี้ได้รับคำกล่าวชมจากหนังสือ ASEAN MAGAZINE เมื่อปี พ.ศ. 2518 ว่าเป็นน้ำตกที่สวยงามที่สุดในเอเซีย
แก่งผาคอยนาง เป็นแก่งน้ำและแก่งหิน จากถนนคลองลาน-อุ้มผาง ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ 1,400 เมตร จะมีทางแยกเข้าไปอีก 400 เมตร จะถึงบริเวณแก่งหินขนาดใหญ่ที่มีลำน้ำคลองขลุงไหลผ่าน ซึ่งเป็นลำน้ำสายหนึ่งในหลายๆ สายที่ไหลลงสู่แม่น้ำปิง จากบริเวณแก่งเดินขึ้นไปตามลำน้ำอีกประมาณ 350 เมตร จะถึง น้ำตกผาคอยนาง น้ำตกขนาดเล็กที่เด่นและสะดุดตา มีน้ำตก 4 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงประมาณ 20 เมตร นอกจากน้ำตกแล้วพื้นที่บริเวณที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์ ก็ยังมีแก่งหินปูนมีน้ำไหลลดหลั่นเป็นชั้นเหมาะแก่การท่องเที่ยวเพื่อการพัก ผ่อนในเวลากลางวันและเป็นที่ชมทิวทัศน์ พักรับประทานอาหาร ในบรรยากาศท่ามกลางหุบเขาอันร่มรื่นเย็นสบายบริเวณแก่งผาคอยนางนี้ นักท่องเที่ยวสามารถกางเต็นท์พักแรมได้
จุดชมทิวทัศน์ กม.57-115 ตลอดเส้นทางคลองลาน-อุ้มผาง ระหว่างกิโลเมตรที่ 57 - 115 มีจุดชมทิวทัศน์หลายแห่ง เช่น จุดชมทิวทัศน์กิโลเมตรที่ 81 กิโลเมตรที่ 87 กิโลเมตรที่ 93 กิโลเมตรที่ 102 และกิโลเมตรที่ 115 แต่ละแห่งสามารถมองทัศนียภาพที่สวยงามมองเห็นทิวเขาไกลสุดสายตา และสามารถกางเต็นท์พักแรมได้ โดยเฉพาะกิโลเมตรที่ 93 เป็นจุดที่มีความสูงที่สุดของถนนสายคลองลาน-อุ้มผาง กิโลเมตรที่ 102 มีน้ำตกริมทางสวยงาม มี 4 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงประมาณ 90 เมตร
ช่องเย็น (กม.93) เป็นจุดสูงสุดของถนนคลองลาน - อุ้มผาง และเป็นจุดสุดท้ายที่ยานพาหนะเข้าถึง มีความสูงประมาณ 1,340 เมตร จากระดับน้ำทะเล อุณหภูมิเฉลี่ยทั้งปีต่ำกว่า 20 องศาเซลเซียล เนื่องจากบริเวณนี้เเป็นช่องเขาที่มีสายลมพัดผ่านตลอดเวลา จึงถูกขนานนามว่า “ช่องเย็น” ตามสภาพภูมิอากาศของพื้นที่แห่งนี้ เนื่องจากช่องเย็นมีสภาพอากาศที่เย็นและชื้น จึงพบพันธุ์ไม้ที่ชอบความชุ่มชื้นบริเวณนี้ ได้แก่ กล้วยไม้ เฟิร์น มหัสดำ (Treefern) นอกจากนี้ช่องเย็นยังเป็นถิ่นอาศัยของนกหลากหลายชนิด จึงเป็นแหล่งดูนกที่สำคัญแห่งหนึ่งของเมืองไทย
ยอดเขาโมโกจู ขุนเขาแห่งความหนาวเย็น ด้วยความสูง 1,964 เมตร จากระดับน้ำทะเล โมโกจูจึงเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในแม่วงก์ อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ประมาณ 27 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินเท้าไปกลับ 4-5 วัน แม้ระยะทางจะไกลและยากแก่การเข้าไปถึง แต่โมโกจูก็ยังเป็นจุดหมายปลายทางของนักเดินทางหลายๆ คน ที่จะเก็บเป็นความประทับใจครั้งหนึ่งในชีวิต
น้ำตกนางนวล น้ำตกนางนวลเป็นน้ำตกขนาดกลางที่สวยงาม มีทั้งหมด 4 ชั้น จากช่องเย็นเดินเท้าไปตามถนนสายคลองลาน-อุ้มผาง ประมาณ 6 กิโลเมตร แล้วเดินลงเขา 200 เมตร จะถึงน้ำตก ผู้สนใจติดต่อเจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติที่ช่องเย็น
น้ำตกเสือโคร่ง เป็นน้ำตกที่สวยงาม จากช่องเย็นเดินเท้าไปเส้นทางเดียวกับน้ำตกนางนวล โดยเดินต่อจากน้ำตกนางนวล ประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำต
บ่อน้ำอุ่น เป็นบ่อน้ำอุ่นที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดินตามธรรมชาติ น้ำอุ่นมีอุณหภูมิประมาณ 50 องศาเซลเซียส รัศมีความกว้างประมาณ 4 เมตร มีสัตว์ป่าชุกชุม อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.5 กิโลเมตร
ที่ตั้งและการเดินทาง
อุทยานแห่งชาติแม่วงก์
ตู้ ปณ.29 อ. คลองลาน จ. กำแพงเพชร 62180
โทรศัพท์ : 0 5576 6027, 0 5576 6024รถยนต์
จากจังหวัดนครสวรรค์ใช้ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 1 ถนนพหลโยธิน ถึงอำเภอขลุงแล้วเลี้ยวซ้ายเข้าสู่ทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1242 ไปประมาณ 40 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1072 ไปอีก 10 กิโลเมตร จะพบสี่แยกคลองลาน ให้เลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1117 ถนนคลองลาน-อุ้มผางประมาณ 15 กิโลเมตร จะถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติแม่วงก์
วันพฤหัสบดีที่ 20 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า จ.กำแพงเพชร
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
อุทยาน แห่งชาติคลองวังเจ้า มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอคลองลาน กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร และกิ่งอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำปิง มีสัตว์ป่า นานาชนิด ตลอดจนจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา โป่งแก๊สธรรมชาติ เป็นต้น มีเนื้อที่ประมาณ 466,875 ไร่ หรือ 747 ตารางกิโลเมตร ด้วย ฯพณฯ พันโทสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ไปตรวจราชการ ในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร เกี่ยวกับการบุกรุกทำลายป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก ท้องที่อำเภอคลองลาน และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2531 ได้บันทึกสั่งการให้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยาน แห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการป้องกัน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประชุมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2531 มีมติเห็นสมควร กำหนดบริเวณป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพธรรมชาติให้อยู่คงเดิม
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กษ 0713/1499 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 1914/2531 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2531 ให้นายวิฑูรย์ อุรัชโนประกร นักวิชาการป่าไม้ 4 สำรวจจัดตั้งป่า บริเวณดังกล่าว และพื้นที่ใกล้เคียงในท้องที่จังหวัดตากเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจ ตามหนังสืออุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าที่ กษ 0713(วจ)/11 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2532 รายงานว่าพื้นที่ป่าคลองวังเจ้า ป่าคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 488 (พ.ศ. 2515) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 175 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2515 และป่าประดาง-วังเจ้า อำเภอเมืองตาก ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2507) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 116 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2507 มีสภาพภูมิประเทศ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อ มาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าประดาง และป่าวังก์เจ้า ในท้องที่ตำบลเชียงทอง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก และป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก ในท้องที่ตำบลโกสัมพี อำเภอเมืองกำแพงเพชร และตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 158 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2533 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 63 ของประเทศ
สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ
น้ำตกคลองวังเจ้า เป็น น้ำตกขนาดใหญ่ของอุทยานแห่งชาติ คลองวังเจ้า แนวเขตจังหวัดตาก-กำแพงเพชร เป็นน้ำตกชั้นเดียวไหลทิ้งตัวในแนวตั้งฉาก สูงประมาณ 60 เมตร ความกว้างประมาณ 100 เมตร ถือเป็นน้ำตกขนาดกลาง และเป็นจุดที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของผืนป่าธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ อยู่ห่างจากถนนพหลโยธิน 29 กิโลเมตร บนถนนวังเจ้า-โละโคะ หลักกิโลเมตรที่ 29 การเดินทางสะดวก
ปากคลองนาคีรี เป็นแก่งน้ำตามธรรมชาติที่สวยงามไหลผ่านโขดหินแกรนิตสีขาวสะอาด สะท้อนแสง เป็นจุดบริเวณที่คลองนาคีรีไหลมารวมกับคลองวังเจ้า
น้ำตกคลองสมอกล้วย เป็น น้ำตกขนาดกลาง แต่มีลักษณะเด่นสวยงาม มี 5 ชั้น ชั้นที่ 1 มีความสูง ประมาณ 40 เมตร ทิ้งตัวลงมาในแนวดิ่ง ส่วนชั้นอื่นๆ มีความสูงแตกต่างกันไป เป็นน้ำตกที่มีสีบุษราคัม มีลักษณะสวยงามแฝงด้วยความน่ากลัวอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 800 เมตร เดินทางได้สะดวก
น้ำตกเต่าดำ เป็น น้ำตกขนาดใหญ่มี 3 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงมากกว่า 200 เมตร โดยเฉพาะชั้นที่ 3 มีความสูงประมาณ 270 เมตร มีความสูงรวมกันประมาณ 600 เมตร ชั้นที่ 3 ทิ้งตัวในแนวตั้งฉากสวยงามและยิ่งใหญ่มาก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 34 กิโลเมตร โดยไปทางบ้านโละโคะจนสุดทางที่ป่าไผ่ แล้วเดินลงเขาชันไปอีก 500 เมตร จะถึงน้ำตก การไปท่องเที่ยวน้ำตกเต่าดำหากไปในช่วงฤดูฝน ควรใช้รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ เท่านั้น
โป่งแก๊สธรรมชาติ เป็น บ่อน้ำร้อน อยู่ห่างจากน้ำตกเต่าดำประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ เป็นโป่งน้ำที่สัตว์ป่าชอบมาอาศัยอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง กวางป่า เป็นต้น อุณหภูมิประมาณ 50-70 องศาเซลเซียส
เขากระดาน เป็นหน้าผาของเขาเต่าดำ อยู่ใกล้น้ำตกเต่าดำ มีลักษณะเหมือนมีคนเอากระดานมาเรียงต่อกันเป็นหน้าผาสูงขึ้นประมาณ 300 เมตร
ผากลม เป็น หน้าผาสูงชันทุกด้าน 360 องศา มีลักษณะคล้ายเอาแท่งดินสอขนาดใหญ่มาปักไว้บนดินมีลักษณะเด่นงดงามมาก การเดินทางต้องใช้วิธีเดินเท้าห่างจากน้ำเข้ารู ประมาณ 3 กิโลเมตร
น้ำเข้ารู เป็น ชื่อที่ชาวเขาใช้เรียกชื่อบริเวณหนึ่ง ที่มีลักษณะตรงตัว คือ ลำห้วยโละโคะไหลลงมา ถึงบริเวณนี้จะมุดหายเข้าไปในภูเขา เป็นระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ไปโผล่อีกด้านหนึ่งของภูเขา จึงเรียกบริเวณนี้ว่า “น้ำเข้ารู”
ถ้ำเขาพนัง เป็นถ้ำขนาดใหญ่อยู่ริมคลองสวนหมากเป็นถ้ำหินงอกหินย้อยสวยงามมากมีความลึกประมาณ100 เมตร
ถ้ำเทพพนม เป็น ถ้ำขนาดใหญ่ มีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีสภาพคล้ายถ้ำเขาพนัง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 17 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ วจ.5 (โละโคะ) ประมาณ 1.5 กิโลเมตร
น้ำตกคลองโป่ง มี ชื่อเรียกอีกหนึ่งว่า น้ำตกคลองน้ำแดง เป็นน้ำตกหินชนวนมี 4 ชั้น ชั้นบนสูง 100 เมตร จากบ้านโละโคะต้องเดินเท้าอีกประมาณ 20 กิโลเมตร ผ่านป่าดิบแล้ง โดยพักแรมในป่าประมาณ 2 คืน ระหว่างทางมีน้ำพุร้อนธรรมชาติให้แวะชม และในฤดูที่มีความชื้นสูงจะพบกล้วยไม้ประเภทลิ้นมังกรขึ้นบริเวณตัวน้ำตก อย่างหนาแน่นสวยงาม
น้ำตกกระแตไต่ไม้ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.7 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงาม มีแอ่งให้เล่นน้ำ และลานหินกว้างสำหรับนั่งพักผ่อน ในบริเวณนั้นจะมีเฟินกระแตไต่ไม้ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตก เส้นทางการเข้าถึงเป็นเส้นทางเดียวกับน้ำตกคลองสมอกล้วย
น้ำตกเขาเย็น เป็นน้ำตกชั้นเดียวขนาดใหญ่ มีความสูงเกือบ 1,000 เมตร ตั้งอยู่บนยอดเขาเย็น ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ การเข้าถึงต้องเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปหมู่บ้านโละโคะประมาณ 29 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางไปน้ำตกเขาเย็นประมาณ 6 กิโลเมตร จากนั้นเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร จึงจะถึงตัวน้ำตก ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทาง
น้ำตกนาฬิกาทราย ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.9 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 20 เมตร แต่มีรูปร่างที่เป็นเอกลักษณ์สวยงาม มีแอ่งให้เล่นน้ำ บริเวณน้ำตกมีความร่มรื่นของต้นไม้ เส้นทางการเข้าถึงเป็นเส้นทางเดียวกับน้ำตกคลองสมอกล้วยและน้ำตกกระแตไต่ไม้
โป่งน้ำร้อน เป็นบ่อน้ำร้อนที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดิน อยู่ห่างจากน้ำตกเต่าดำประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ เป็นโป่งน้ำร้อนที่สัตว์ป่าชอบมาอาศัยอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง กวางป่า เป็นต้น อุณหภูมิประมาณ 50-70 องศาเซลเซียส
จุดชมทิวทัศน์ผาตั้ง อยู่ริมเส้นทางบ้านโละโคะ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 3 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนเส้นทางที่จะไปบ้านโละโคะ เป็นจุดที่สามารถมองลงไปเห็นดอยผาตั้ง เหมาะแก่การชมสภาพป่าเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความงามของดวงอาทิตย์ตกลับเหลี่ยมเขาในยามเย็น
ที่ตั้งและการเดินทาง
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
ตู้ ปณ.69 ปณจ.กำแพงเพชร อ. กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร จ. กำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ : 0 5571 9318-9, 0 5571 9200, 0 5571 9244 โทรสาร : 0 5559 3201รถยนต์
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีความสะดวก สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง ดังนี้
- จากจังหวัดกำแพงเพชร ไปจังหวัดตากตามถนนสายเอเซีย (A1) ถึงสี่แยกตลาดวังเจ้า แยกซ้ายไปทางบ้านนาโบสถ์ ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1110 ประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านเด่นคา แยกซ้ายไปทางบ้านหนองแดน และแยกขวาตรงบ้านหนองแดนอีก 7 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถยนต์ เข้าอุทยานแห่งชาติ ได้สะดวกตลอดทั้งปี
- จากจังหวัดกำแพงเพชร ไปจังหวัดตาก ตามถนนสายเอเซีย (A1) ก่อนถึงสี่แยกบ้านวังเจ้า ประมาณ 500 เมตร แยกซ้ายมือไปบ้านโละโคะ ผ่านบ้านหนองแดนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางรวม ประมาณ 30 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถยนต์เข้าอุทยานแห่งชาติได้สะดวกตลอดทั้งปี
อุทยาน แห่งชาติคลองวังเจ้า มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอคลองลาน กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร จังหวัดกำแพงเพชร และกิ่งอำเภอวังเจ้า จังหวัดตาก ประกอบด้วยป่าที่สมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธารของแม่น้ำปิง มีสัตว์ป่า นานาชนิด ตลอดจนจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงาม เช่น น้ำตก ถ้ำ หน้าผา โป่งแก๊สธรรมชาติ เป็นต้น มีเนื้อที่ประมาณ 466,875 ไร่ หรือ 747 ตารางกิโลเมตร ด้วย ฯพณฯ พันโทสนั่น ขจรประศาสน์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ไปตรวจราชการ ในท้องที่จังหวัดกำแพงเพชร เกี่ยวกับการบุกรุกทำลายป่าในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก ท้องที่อำเภอคลองลาน และอำเภอเมือง จังหวัดกำแพงเพชร เมื่อวันที่ 7 ธันวาคม 2531 ได้บันทึกสั่งการให้ดำเนินการสำรวจพื้นที่ดังกล่าวเพื่อจัดตั้งเป็นอุทยาน แห่งชาติ ซึ่งคณะกรรมการป้องกัน อนุรักษ์ทรัพยากรป่าไม้ จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประชุมเมื่อวันที่ 8 ธันวาคม 2531 มีมติเห็นสมควร กำหนดบริเวณป่าดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ เพื่ออนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ และสภาพธรรมชาติให้อยู่คงเดิม
กองอุทยานแห่งชาติได้มีหนังสือ ด่วนที่สุด ที่ กษ 0713/1499 ลงวันที่ 20 ธันวาคม 2531 เสนอกรมป่าไม้มีคำสั่งที่ 1914/2531 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2531 ให้นายวิฑูรย์ อุรัชโนประกร นักวิชาการป่าไม้ 4 สำรวจจัดตั้งป่า บริเวณดังกล่าว และพื้นที่ใกล้เคียงในท้องที่จังหวัดตากเป็นอุทยานแห่งชาติ ผลการสำรวจ ตามหนังสืออุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้าที่ กษ 0713(วจ)/11 ลงวันที่ 15 กุมภาพันธ์ 2532 รายงานว่าพื้นที่ป่าคลองวังเจ้า ป่าคลองสวนหมาก จังหวัดกำแพงเพชร ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติ ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 488 (พ.ศ. 2515) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 175 ลงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2515 และป่าประดาง-วังเจ้า อำเภอเมืองตาก ได้ประกาศเป็นป่าสงวนแห่งชาติตามกฎกระทรวงฉบับที่ 10 (พ.ศ. 2507) ลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 81 ตอนที่ 116 ลงวันที่ 8 ธันวาคม 2507 มีสภาพภูมิประเทศ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีจุดเด่นทางธรรมชาติที่สวยงามเหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติต่อ มาได้มีพระราชกฤษฎีกากำหนดบริเวณที่ดินป่าประดาง และป่าวังก์เจ้า ในท้องที่ตำบลเชียงทอง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก และป่าคลองวังเจ้า และป่าคลองสวนหมาก ในท้องที่ตำบลโกสัมพี อำเภอเมืองกำแพงเพชร และตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอคลองลาน จังหวัดกำแพงเพชร ให้เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 107 ตอนที่ 158 ลงวันที่ 29 สิงหาคม 2533 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 63 ของประเทศ
สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ
น้ำตกคลองวังเจ้า เป็น น้ำตกขนาดใหญ่ของอุทยานแห่งชาติ คลองวังเจ้า แนวเขตจังหวัดตาก-กำแพงเพชร เป็นน้ำตกชั้นเดียวไหลทิ้งตัวในแนวตั้งฉาก สูงประมาณ 60 เมตร ความกว้างประมาณ 100 เมตร ถือเป็นน้ำตกขนาดกลาง และเป็นจุดที่สามารถมองเห็นทิวทัศน์ของผืนป่าธรรมชาติอันอุดมสมบูรณ์ อยู่ห่างจากถนนพหลโยธิน 29 กิโลเมตร บนถนนวังเจ้า-โละโคะ หลักกิโลเมตรที่ 29 การเดินทางสะดวก
ปากคลองนาคีรี เป็นแก่งน้ำตามธรรมชาติที่สวยงามไหลผ่านโขดหินแกรนิตสีขาวสะอาด สะท้อนแสง เป็นจุดบริเวณที่คลองนาคีรีไหลมารวมกับคลองวังเจ้า
น้ำตกคลองสมอกล้วย เป็น น้ำตกขนาดกลาง แต่มีลักษณะเด่นสวยงาม มี 5 ชั้น ชั้นที่ 1 มีความสูง ประมาณ 40 เมตร ทิ้งตัวลงมาในแนวดิ่ง ส่วนชั้นอื่นๆ มีความสูงแตกต่างกันไป เป็นน้ำตกที่มีสีบุษราคัม มีลักษณะสวยงามแฝงด้วยความน่ากลัวอยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 800 เมตร เดินทางได้สะดวก
น้ำตกเต่าดำ เป็น น้ำตกขนาดใหญ่มี 3 ชั้น แต่ละชั้นมีความสูงมากกว่า 200 เมตร โดยเฉพาะชั้นที่ 3 มีความสูงประมาณ 270 เมตร มีความสูงรวมกันประมาณ 600 เมตร ชั้นที่ 3 ทิ้งตัวในแนวตั้งฉากสวยงามและยิ่งใหญ่มาก อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 34 กิโลเมตร โดยไปทางบ้านโละโคะจนสุดทางที่ป่าไผ่ แล้วเดินลงเขาชันไปอีก 500 เมตร จะถึงน้ำตก การไปท่องเที่ยวน้ำตกเต่าดำหากไปในช่วงฤดูฝน ควรใช้รถยนต์ขับเคลื่อน 4 ล้อ เท่านั้น
โป่งแก๊สธรรมชาติ เป็น บ่อน้ำร้อน อยู่ห่างจากน้ำตกเต่าดำประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ เป็นโป่งน้ำที่สัตว์ป่าชอบมาอาศัยอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง กวางป่า เป็นต้น อุณหภูมิประมาณ 50-70 องศาเซลเซียส
เขากระดาน เป็นหน้าผาของเขาเต่าดำ อยู่ใกล้น้ำตกเต่าดำ มีลักษณะเหมือนมีคนเอากระดานมาเรียงต่อกันเป็นหน้าผาสูงขึ้นประมาณ 300 เมตร
ผากลม เป็น หน้าผาสูงชันทุกด้าน 360 องศา มีลักษณะคล้ายเอาแท่งดินสอขนาดใหญ่มาปักไว้บนดินมีลักษณะเด่นงดงามมาก การเดินทางต้องใช้วิธีเดินเท้าห่างจากน้ำเข้ารู ประมาณ 3 กิโลเมตร
น้ำเข้ารู เป็น ชื่อที่ชาวเขาใช้เรียกชื่อบริเวณหนึ่ง ที่มีลักษณะตรงตัว คือ ลำห้วยโละโคะไหลลงมา ถึงบริเวณนี้จะมุดหายเข้าไปในภูเขา เป็นระยะทางประมาณ 1 กิโลเมตร ไปโผล่อีกด้านหนึ่งของภูเขา จึงเรียกบริเวณนี้ว่า “น้ำเข้ารู”
ถ้ำเขาพนัง เป็นถ้ำขนาดใหญ่อยู่ริมคลองสวนหมากเป็นถ้ำหินงอกหินย้อยสวยงามมากมีความลึกประมาณ100 เมตร
ถ้ำเทพพนม เป็น ถ้ำขนาดใหญ่ มีหินงอกหินย้อยสวยงาม มีค้างคาวอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก มีสภาพคล้ายถ้ำเขาพนัง อยู่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 17 กิโลเมตร และอยู่ห่างจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ วจ.5 (โละโคะ) ประมาณ 1.5 กิโลเมตร
น้ำตกคลองโป่ง มี ชื่อเรียกอีกหนึ่งว่า น้ำตกคลองน้ำแดง เป็นน้ำตกหินชนวนมี 4 ชั้น ชั้นบนสูง 100 เมตร จากบ้านโละโคะต้องเดินเท้าอีกประมาณ 20 กิโลเมตร ผ่านป่าดิบแล้ง โดยพักแรมในป่าประมาณ 2 คืน ระหว่างทางมีน้ำพุร้อนธรรมชาติให้แวะชม และในฤดูที่มีความชื้นสูงจะพบกล้วยไม้ประเภทลิ้นมังกรขึ้นบริเวณตัวน้ำตก อย่างหนาแน่นสวยงาม
น้ำตกกระแตไต่ไม้ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.7 กิโลเมตร เป็นน้ำตกขนาดเล็กที่มีความสวยงาม มีแอ่งให้เล่นน้ำ และลานหินกว้างสำหรับนั่งพักผ่อน ในบริเวณนั้นจะมีเฟินกระแตไต่ไม้ขึ้นอยู่เป็นจำนวนมาก จึงเป็นที่มาของชื่อน้ำตก เส้นทางการเข้าถึงเป็นเส้นทางเดียวกับน้ำตกคลองสมอกล้วย
น้ำตกเขาเย็น เป็นน้ำตกชั้นเดียวขนาดใหญ่ มีความสูงเกือบ 1,000 เมตร ตั้งอยู่บนยอดเขาเย็น ซึ่งเป็นยอดเขาที่สูงที่สุดในเขตอุทยานแห่งชาติ การเข้าถึงต้องเดินทางจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติไปหมู่บ้านโละโคะประมาณ 29 กิโลเมตร เลี้ยวขวาเข้าสู่เส้นทางไปน้ำตกเขาเย็นประมาณ 6 กิโลเมตร จากนั้นเดินเท้าต่อไปอีกประมาณ 10 กิโลเมตร จึงจะถึงตัวน้ำตก ควรติดต่อเจ้าหน้าที่ก่อนเดินทาง
น้ำตกนาฬิกาทราย ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติประมาณ 1.9 กิโลเมตร เป็นน้ำตกที่มีความสูงประมาณ 20 เมตร แต่มีรูปร่างที่เป็นเอกลักษณ์สวยงาม มีแอ่งให้เล่นน้ำ บริเวณน้ำตกมีความร่มรื่นของต้นไม้ เส้นทางการเข้าถึงเป็นเส้นทางเดียวกับน้ำตกคลองสมอกล้วยและน้ำตกกระแตไต่ไม้
โป่งน้ำร้อน เป็นบ่อน้ำร้อนที่ผุดขึ้นมาจากใต้ดิน อยู่ห่างจากน้ำตกเต่าดำประมาณ 1.5 กิโลเมตร มีพื้นที่ประมาณ 1 ไร่ เป็นโป่งน้ำร้อนที่สัตว์ป่าชอบมาอาศัยอยู่ เช่น หมูป่า เก้ง กวางป่า เป็นต้น อุณหภูมิประมาณ 50-70 องศาเซลเซียส
จุดชมทิวทัศน์ผาตั้ง อยู่ริมเส้นทางบ้านโละโคะ ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ 3 กิโลเมตร ตั้งอยู่บนเส้นทางที่จะไปบ้านโละโคะ เป็นจุดที่สามารถมองลงไปเห็นดอยผาตั้ง เหมาะแก่การชมสภาพป่าเป็นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะความงามของดวงอาทิตย์ตกลับเหลี่ยมเขาในยามเย็น
ที่ตั้งและการเดินทาง
อุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า
ตู้ ปณ.69 ปณจ.กำแพงเพชร อ. กิ่งอำเภอโกสัมพีนคร จ. กำแพงเพชร 62000
โทรศัพท์ : 0 5571 9318-9, 0 5571 9200, 0 5571 9244 โทรสาร : 0 5559 3201รถยนต์
การเดินทางไปอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า มีความสะดวก สามารถเดินทางได้ 2 เส้นทาง ดังนี้
- จากจังหวัดกำแพงเพชร ไปจังหวัดตากตามถนนสายเอเซีย (A1) ถึงสี่แยกตลาดวังเจ้า แยกซ้ายไปทางบ้านนาโบสถ์ ตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1110 ประมาณ 3 กิโลเมตร ถึงสามแยกบ้านเด่นคา แยกซ้ายไปทางบ้านหนองแดน และแยกขวาตรงบ้านหนองแดนอีก 7 กิโลเมตร ถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติคลองวังเจ้า ระยะทางประมาณ 28 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถยนต์ เข้าอุทยานแห่งชาติ ได้สะดวกตลอดทั้งปี
- จากจังหวัดกำแพงเพชร ไปจังหวัดตาก ตามถนนสายเอเซีย (A1) ก่อนถึงสี่แยกบ้านวังเจ้า ประมาณ 500 เมตร แยกซ้ายมือไปบ้านโละโคะ ผ่านบ้านหนองแดนถึงที่ทำการอุทยานแห่งชาติ ระยะทางรวม ประมาณ 30 กิโลเมตร สามารถเดินทางโดยรถยนต์เข้าอุทยานแห่งชาติได้สะดวกตลอดทั้งปี
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ จ.เชียงใหม่
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า “ดอยหลวง” หรือ “ดอยอ่างกา” คำว่า ดอยหลวง หมายถึง ภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาลงไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า “ดอยอ่างกา” เมื่อครั้งที่พื้นที่ป่าไม้ทางภาคเหนือ ยังอยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครอบครองนครต่างๆ นั้นในสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์เป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของป่าไม้เป็นอันมาก โดยเฉพาะ “ดอยหลวง” พระองค์มีความหวงแหนเป็นพิเศษ ขณะที่ยังมีพระชนม์อยู่ได้สั่งไว้ว่า หากสิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ขอให้แบ่งเอาอัฐิส่วนหนึ่งไปบรรจุไว้บนยอดดอยหลวง ด้วย ต่อมาคำว่าดอยหลวงก็ถูกเปลี่ยนเป็น “ดอยอินทนนท์” ตามพระนามของเจ้าผู้ครองนครนั้น และเมื่อขึ้นไปบนยอดเขาสูงนี้ จะเห็นสถูปบรรจุพระอัฐิของพระเจ้า อินทรวิชยานนท์ประดิษฐานอยู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 482 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม อำเภอจอมทอง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความสูงตั้งแต่ 400-2,565 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพป่ามีหลายประเภททั้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา โดยเฉพาะป่าดิบเขาบนยอดดอยสูงสุด นับเป็นธรรมชาติที่โดดเด่นที่สุดนอกจากนี้บนยอดดอยยังพบพืชจากเขตอบอุ่น เช่น กุหลาบพันปี บัวทอง ต่างไก่ป่า ฯลฯ และตามหน้าผาพบป่ากึ่งอันไพน์ ซึ่งเป็นสังคมพืชที่หาดูได้ยากในเมืองไทย ดอยอินทนนท์เป็นศูนย์รวมของนกป่าเกือบ 400 ชนิด โดยเฉพาะนกหายากหลายชนิดที่อาศัยในที่สูง เช่น นกปีกแพร นกกระทาดง นกศิวะ ฯลฯ ในจำนวนนี้มีมากกว่า 100 ชนิด ที่เป็นนกอพยพย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยบนดอยอินทนนท์ในช่วงฤดูหนาว หลายชนิดพบได้ยากในพื้นที่อื่น เช่น นกเดินดง นกจับแมลง นกจาบปีกอ่อน นกเขน ฯลฯอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์และป่าเตรียมการสงวนป่าจอม ทอง อำเภอจอมทอง ป่าแม่แจ่ม และป่าแม่ขาน-แม่วาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การสงวนและคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ. 2497 และตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 โดยออกเป็นกฎกระทรวงฉบับที่ 103 (พ.ศ. 2502) ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์นี้ต่อมาได้ถูกกำหนดให้เป็น 1 ใน 14 ป่า ที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการสำรวจและจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรก ตามนโยบายของรัฐบาลในด้านการอนุรักษ์ การป้องกันและดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ และเพื่อการนำเอาสภาพป่าและสภาพภูมิประเทศต่างๆ ของพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่มาใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านธรรมชาติวิทยาและชีววิทยา
กองบำรุง กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 119/2508 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 (ขณะนั้นเป็นหมวดอุทยานแห่งชาติ สังกัดกองบำรุง) ให้ นายนิพนธ์ บุญทารมณ์ นักวิชาการป่าไม้ตรีไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น และเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2515 นายปรีดา กรรณสูต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีบัญชาให้ นายอุดม ธนัญชยานนท์ นักวิชาการป่าไม้โท ทำการสำรวจทางเฮลิคอปเตอร์ เพื่อจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามมติคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2515 ปรากฏว่า ป่าดอยอินทนนท์ มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสภาพทิวทัศน์และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม และเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับศูนย์อำนวยการร่วมฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กห 0312/4757 ลงวันที่ 12 เมษายน 2515 เสนอจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ ให้กำหนดป่าดอยอินทนนท์เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และสภาบริหารคณะปฏิวัติได้มีมติเมื่อวันที่ 27 เมษายน2515 อนุมัติหลักการให้ดำเนินการ กรมป่าไม้จึงดำเนินการจัดตั้งบริเวณที่ดินป่าดอยอินทนนท์ ในท้องที่ตำบลบ้านหลวง ตำบลสบเตี้ยะ ตำบลสองแคว ตำบลยางคราม อำเภอจอมทอง ตำบลแม่วิน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 168,750 ไร่ หรือ 270 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 223 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 148 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 6 ของประเทศ
เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จที่บริเวณดอยขุนกลาง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ให้พิจารณาดำเนินการขยายอาณาเขต ของอุทยานแห่งชาติออกไป คลุมถึงบริเวณพื้นที่ที่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำต้นน้ำลำธารเพิ่มขึ้นอีก กรมป่าไม้ได้ทำการตรวจสอบและสำรวจเพิ่มเติม ปรากฎว่า ตามที่กำหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติระบุท้องที่ตำบลแม่ศึก ซึ่งมิได้อยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติและมิได้ระบุท้องที่ตำบลช่างเคิ่งและ ตำบลท่าผา ซึ่งอยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ดังกล่าว ประกอบกับทางราชการกองทัพอากาศประสงค์ที่จะกันพื้นที่บางส่วนเพื่อก่อสร้าง สถานีเรดาร์ เพื่อใช้ในราชการกองทัพอากาศ เนื้อที่ 33 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการได้ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2517 อีกทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสงค์ที่จะปรับปรุงแนวขยายแนวเขต อุทยานแห่งชาติออกไป โดยกำหนดป่าสงวนแห่งชาติอินทนนท์ ป่าสงวนแห่งชาติจอมทอง และป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2518 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2518 ได้มีมติเห็นชอบกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงดำเนินการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติทั้ง 3 ป่า จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกำหนดบริเวณป่าดอยอินทนนท์ ในท้องที่ตำบลแม่นาจร ตำบลช่างเคิ่ง ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม ตำบลแม่วิน ตำบลทุ่งปี้ อำเภอสันป่าตอง และตำบลสองแคว ตำบลยางคราม ตำบลบ้านหลวง ตำบลสบเตี้ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 62 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รวมเนื้อที่ 301,500 ไร่ หรือ 482.40 ตารางกิโลเมตร โดยให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 223 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ
น้ำตกแม่กลาง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี และมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ให้เล่นน้ำหลายแห่ง แต่ในช่วงฤดูฝนกระแสน้ำไหลแรงจนอาจเป็นอันตรายต่อการเล่นน้ำ น้ำตกแม่กลางอยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ จากถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ประมาณ กม.ที่ 8 ก่อนถึงด่านตรวจของอุทยานแห่งชาติ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกแม่กลาง สามารถเดินลัดเลาะตามเส้นทางเดินไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากน้ำตกแม่กลางประมาณ 400 เมตร ผ่านเหมืองฝายและภาพเขียนสีผาคันนา
น้ำตกแม่ยะ อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เกิดจากลำห้วยแม่ยะ ไหลลดหลั่นลงมาถึง 30 ชั้น รวมความสูงประมาณ 260 เมตร จนกล่าวกันว่าเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของประเทศ ในช่วงฤดูฝนสายน้ำตกจะแผ่กว้างถึง 100 เมตร ฤดูแล้งปริมาณน้ำอาจลดน้อยลง แต่สายน้ำตกจะใสสะอาดกว่า น้ำตกแม่ยะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เมื่อเข้าสู่ถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ ได้ประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร
น้ำตกสิริภูมิ เดิมชื่อ น้ำตกเลาลี ตามชื่อของชาวเขา ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านที่อยู่ใกล้น้ำตกนี้ ต่อมา ม.ร.ว.จักรทอง ทองใหญ่ เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขนานนามว่า “สิริภูมิ” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง -เจ้าพระบรมราชินีนาถ น้ำตกนี้อยู่ที่บ้านขุนกลาง ใกล้ กม.ที่ 31 ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ เป็นน้ำตก 2 สาย ที่ไหลคู่กันลงมาจากหน้าผาสูงซึ่งสามารถมองเห็นได้จากระยะไกล
น้ำตกวชิรธาร มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า น้ำตกตาดฆ้องโยง เกิดจากลำห้วยแม่กลาง อยู่ประมาณหลักกม.ที่ 22 ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 70-80 เมตร สายน้ำไหลตกจากหน้าผาลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ในยามที่แสงอาทิตย์ส่องกระทบละอองน้ำจะปรากฏสายรุ้งงดงามขึ้นเหนือธารน้ำ ตรงข้ามมีหน้าผาสูงชัน เรียกว่า “ผามอแก้ว” หรือภายหลังเรียกว่า ผาแว่นแก้ว
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อยู่ตรง กม.ที่ 42 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ ใกล้กับพระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ เส้นทางนี้จะผ่านสภาพธรรมชาติที่แตกต่างกัน 2 ลักษณะ คือ ป่าดิบเขากับทุ่งหญ้าบนสันเขา ทางช่วงแรกผ่านเข้าไปในป่าดิบเขาซึ่งมีบรรยากาศร่มครึ้ม มีแสงแดดส่องลงมาเพียงรำไรตามพื้นป่าเต็มไปด้วยเฟินหลากหลายชนิด มีมอสสีเขียวขึ้นคลุมตามโคนต้นไม้และบริเวณริมห้วยที่ชุมชื้น ทางจะเดินขึ้นเขาจนทะลุออกยังทุ่งหญ้าโล่งกว้างของสันกิ่วแม่ปานซึ่งมีแสง แดดจ้าและสายลมแรง ทำให้บรรยากาศเปลี่ยนไปจากสภาพที่ผ่านมาทันที ทุ่งหญ้าบริเวณนี้เคยเป็นป่าดิบเขามาก่อน แต่ได้ถูกบุกรุกทำลายไปจนมีสภาพดังเช่นปัจจุบัน จากนี้ทางเดินจะเลียบไปตามสันเขาที่มีดงต้นกุหลาบพันปี รวมทั้งไม้พุ่มขนาดเล็กอย่างช้ามะยมดอยและต่างไก่ป่า ซึ่งเป็นตัวอย่างของสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ให้ศึกษา ทางช่วงสุดท้ายจะเข้าสู่ป่าดิบเขาอีกครั้งและไปสิ้นสุดที่จุดเริ่มต้นของ เส้นทาง รวมระยะทางทั้งหมดประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดิน 2-3 ชั่วโมง เส้นทางนี้อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ผู้สนใจต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินเที่ยวชมคือ เดือนธันวาคม-มกราคม ส่วนในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม เส้นทางนี้ปิดให้บริการเพื่อให้เวลาธรรมชาติฟื้นตัว
ยอดดอยอินทนนท์ เป็นยอดเขาสูงสุดของประเทศ อากาศบนยอดดอยหนาวเย็นประดุจดังอยู่ในเมืองหนาว ยามฤดูหนาวหนาวจัด มีเมฆหมอกครึ้ม บรรยากาศดังกล่าวไม่อาจหาได้ในส่วนอื่นของประเทศ โดยเฉพาะบริเวณ อ่างกาหลวง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป็นจุดที่สามารถสัมผัสกับธรรมชาติอันชวนหลงไหลของป่าดิบเขาได้ง่ายที่สุด ภายในจัดทำเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทางประมาณ 300 เมตร โดยใช้สะพานไม้ทั้งหมด เพื่อป้องกันมิให้เหยียบย่ำธรรมชาติอันเปราะบางเสียหาย เส้นทางจะวนกลับมา ณ จุดเริ่มต้น มีป้ายให้ความรู้เรื่องธรรมชาติตลอดเส้นทาง บรรยากาศในอ่างกาหลวงปกคลุมด้วยเมฆที่ลอยพัดผ่านเข้ามาตลอดเวลา อากาศจึงชื้นและเต็มไปด้วยละอองน้ำ ทำให้ต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบเขามีมอสและเฟินขึ้นหุ้มเต็มต้นจนแลดูราวกับป่าใน ยุคดึกดำบรรพ์ จุดเด่นของเส้นทางนี้ ได้แก่ ต้นกุหลาบพันปีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ กุหลาบพันปีจะบานอวดดอกสีแดงสดดึงดูดให้นกมากินน้ำหวานและช่วยผสมเกสร เช่น นกกินปลีหางยาวเขียว นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้าฯลฯ ส่วนตามโคนต้นกุหลาบพันปีมีข้าวตอกฤาษีขึ้นปกคลุมราวกับพรมธรรมชาติ ข้าวตอกฤาษีเป็นมอสชนิดหนึ่งขึ้นอยู่หนาแน่นมีสีเขียวสลับส้มกับสีน้ำตาล อ่อนๆ มอสชนิดนี้จะขึ้นได้เฉพาะที่สูง ความชื้นมาก และอากาศหนาวเย็นเท่านั้น นอกจากนี้ในอ่างกาหลวงยังมีพรุน้ำจืดที่อยู่สูงที่สุดของประเทศ ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์เฉพาะถิ่นหายากบางชนิด และเป็นถิ่นอาศัยของนกบนที่สูงจำนวนมากซึ่งสามารถพบเห็นได้ค่อนข้างง่าย เช่น นกศิวะหางสีตาล นกอีแพรดท้องเหลือง นกกะรางหัวแดง นกจับแมลงหน้าผากขาว ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาวยังมีนกอพยพย้ายถิ่นนานาชนิดบินมาอาศัย ทำให้ดอยอินทนนท์เป็นแหล่งดูนกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ บริเวณจุดสูงสุดบนยอดดอยอินทนนท์นี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระสถูปของพระเจ้า อินทวิชยานนท์ ผู้เป็นที่มาของชื่อดอยอินทนนท์แห่งนี้อีกด้วย
ถ้ำบริจินดา เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีความลึกหลายกิโลเมตร เพดานมีหินงอกหินย้อยหรือที่ชาวเหนือเรียกว่า “นมผา” และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน นอกจากนี้ยังมีธารหิน เมื่อมีแสงสว่างมากระทบจะเกิดประกายระยิบระยับดังกากเพชรงามยิ่งนัก ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำทะลุ แสงสว่างลอดเข้ามาได้ ทางเข้าอยู่ทางขวามือห่างจากด่านตรวจไปประมาณ 500 เมตร เข้าไปตามทางอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จนสุดทางที่ริมน้ำแม่หอย จากนั้นต้องเดินข้ามลำน้ำและผ่านป่าไผ่ไปอีก 1 กิโลเมตร จึงถึงถ้ำบริจินดา
จุดชมทิวทัศน์และพระมหาธาตุเจดีย์ จุดชมทิวทัศน์อยู่ตรง กิโลเมตรที่ 41 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันกว้างไกลของขุนเขาสลับซับซ้อน โดยเฉพาะยามเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมเหนือหุบเขาน่าชมมาก จากจุดชมทิวทัศน์สามารถมองเห็นพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริสูงเด่นอยู่คู่กัน สำหรับทางเข้าพระมหาธาตุฯ ทั้งสององค์อยู่ห่างจากจุดชมทิวทัศน์ไปอีกประมาณ 500 เมตร กองทัพอากาศสร้างพระมหาธาตุทั้งสององค์ขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บริเวณรอบองค์พระมหาธาตุฯ ประดับตกแต่งด้วยไม้ดอกเมืองหนาวสวยงาม
น้ำตกวังควาย เป็นน้ำตกที่เหมาะในการลงเล่นน้ำในสายน้ำที่เย็นฉ่ำไหลเซาะลดเลี้ยวตามลาน หินลดหลั่นเป็นชั้นๆ พื้นน้ำเป็นทรายเม็ดละเอียด อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่มาตามถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 58 ก่อนถึงตลาดจอมทองเลี้ยวขวาขึ้นไปตามถนนจอมทอง-ดอยอินทนนท์ระยะทางประมาณ 9.7 กิโลเมตร
น้ำตกสิริธาร ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอเชียงใหม่ประมาณ 81 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ประมาณกิโลเมตร 58 เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ประมาณ 23 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปจุดชมทิวทัศน์น้ำตกสิริธาร ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 100 เมตร คดเคี้ยวไปตามความลาดชันของภูเขา
ดอยขุนกลาง บริเวณกิโลเมตรที่ 31 จะปรากฎสภาพภูมิประเทศโดยรอบจะเป็นทุ่งหญ้าคาเนื่องจากป่าถูกถางลงเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา เป็นดอยที่ลดหลั่นประดุจดังคลื่น โดยเฉพาะในฤดูฝนจะเขียวขจีเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามแปลกตาจนน่าบันทึกไว้บนแผ่น ฟิล์ม อย่างไรก็ตามบุคคลทั่วไปก็ยังรักที่จะเห็นป่ามากกว่าทุ่งหญ้าคาแบบนั้น
เส้นทางดูนก กม. 38 อยู่ใกล้กับด่านตรวจอุทยานแห่งชาติ กม. ที่ 37.5 ถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ นักดูนกมักเรียกเส้นทางนี้ว่า jeep track เนื่องจากเป็นทางเดินราบเรียบสะดวกสบายผ่านไปท่ามกลางป่าดิบเขาที่ระดับความ สูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากป่าดิบเขาบริเวณยอดดอยอินทนนท์ โดยมีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ เช่น พญาไม้มณฑาดอย ฯลฯ สำหรับนกที่พบเห็นได้ง่าย เช่น นกมุ่นรกตาแดง นกขมิ้นแดง นกเปลือกไม้ นกปลีกล้วยลาย นกติ๊ดแก้มเหลือง ฯลฯ รวมทั้งมีนกหายากซึ่งมีรายงานการพบบนเส้นทางนี้ คือ นกปีกแพรสีม่วง และนกปีกแพรสีเขียว
กลุ่มน้ำตกแม่ปาน ประกอบด้วยน้ำตก 8 แห่ง ได้แก่ น้ำตกแม่ปาน น้ำตกผาสำราญ น้ำตกสองพี่น้อง น้ำตกทีลอกุ้ย น้ำตกธารทอง น้ำตกแท่นพระสังข์ น้ำตกป่าบงเบียง และน้ำตกห้วยทรายเหลือง อยุ่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (กม.31) ไปตามถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ไปยังด่านตรวจที่ 2 (กม.38) แยกซ้ายไปทางอำเภอแม่แจ่มประมาณ 6 กิโลเมตร มีทางแยกขวาเข้าไปหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ อน.2 (แม่แจ่ม) ประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติผาสำราญ (น้ำตกแม่ปาน-ห้วยทรายเหลือง) เป็นแส้นทางวงรอบ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,150 เมตร สามารถเริ่มเดินจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติไปตามเส้นทางเข้าน้ำตกแม่ปาน จะพบเห็นน้ำตกได้ทั้ง 8 แห่ง และกลับมายังจุดเริ่มต้นบริเวณหน่วยฯ ชมน้ำตกห้วยทรายเหลือง
ผาแง่มน้อย ผาแง่มน้อย “แง่ม” เป็นภาษาประจำถิ่นของภาคเหนือ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ง่าม” ในภาษาไทย เป็นคำนามใช้เรียกลักษณะหรือสิ่งที่แยกออกเป็น 2 หรือ 3 ผาแง่มน้อยเป็นหิน 2 แท่ง ตั้งอยู่คู่กันริมเส้นทางเดินชมธรรมชาติกิ่วแม่ปาน หินที่ประกอบขึ้นเป็นผาแง่มน้อยได้แก่หินแกรนิตเนื้อปานกลางยุคไทรแอสซิก มีอายุประมาณ 200 ล้านปีมาแล้ว หินแกรนิตในบริเวณนี้เกิดจากหินหลอมเหลวที่ดันตัวตัดผ่านหินไนส์ ที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า 530 ล้านปี ยุคพรีแคมเบรียน เมื่อหินหลอมเหลวที่ยังอยู่ใต้ผิวโลกเย็นตัวลง มวลของหินแกรนิตมีการหดตัวและปรากฏรอยแตกบริเวณขอบของมวลหิน เมื่อเวลาผ่านไปเปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ปรากฏการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นคือ กระบวนการก่อเทือกเขา ทำให้ผิวโลกมีการยกตัวขึ้นเป็นภูเขา ปรากฏการณ์ที่สำคัญต่อมาหลังจากที่หินปรากฏบนผิวโลกคือการผุพังอยู่กับที่ และการกัดกร่อน หินแกรนิตเกิดจากแร่ประกอบหินหลายชนิด เช่น ควอรตซ์ เฟลด์สปาร์ ไบโอไทต์ และมัสโคไวท์ แร่ประกอบหินแต่ละชนิดมีอัตราการผุพังที่ต่างกัน เช่น แร่เฟลด์สปาร์ จะผุพังง่าย และเร็วกว่าแร่ควอรตซ์ ผาแง่มน้อยเป็นหินแกรนิตเช่นเดียวกับหินที่อยู่ข้างเคียง แต่เนื้อหินของผาแง่มน้อยมีปริมาณแร่ควอรตซ์มากกว่าหินที่อยู่ข้างเคียง และหินข้างเคียงก็มีปริมาณแร่เฟลด์สปาร์ที่มากกว่าหินส่วนที่เป็นหน้าผา ผาแง่มน้อยจึงเป็นผลลัพธ์ของความต่างของอัตราเร็วในการผุพัง โดยส่วนที่เป็นผาแง่มน้อยมีความทนทานต่อการผุพังมากกว่าหินที่อยู่ข้างเคียง นอกจากนี้อาจเกี่ยวข้องกับความถี่ของรอยแตกที่หินข้างเคียงมีมากกว่าหินส่วน ที่เป็นผาแง่มนี้ด้วย
หมู่บ้านม้งขุนยะน้อย เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรมม้ง บ้านขุนยะน้อย เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง จำนวนประมาณ 70 หลังคาเรือน อยู่ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300 เมตร มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์จากพื้นที่สูงได้ไกล บริเวณโดยรอบหมู่บ้านมีสภาพป่าดิบเขาที่ยังคงความสมบูรณ์ และการอนุรักษ์ป่า “ดงเซ้ง” และต้นไม้ขนาดใหญ่ 7-8 คนโอบ การดำเนินชีวิตของชาวเขาเผ่าม้งนี้ยังคงใช้วิถีชีวิตวัฒนธรรมเดิมๆ อยู่มาก เช่น การแต่งกาย การตีมีดแบบดั้งเดิม การโม่ข้าวหรือข้าวโพดด้วยโม่หิน การทำเหล้าข้าวโพด การสร้างบ้าน การทอผ้า และการจัดประเพณีต่างๆ เป็นต้น ในหมู่บ้านมีการบริการที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ Home Sta
หมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่แอบใน เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง หรือ ปกาเกอะญอ ชมการดำนินชีวิตที่เรียบง่าย เช่น การทอผ้า การตำข้าว การขับกล่อมบทกลอน “ทา” “ซอ” การเล่นเตหน่า รำดาบ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น การเลี้ยงผีฝาย ผีนา เป็นต้น ในหมู่บ้านมีการบริการที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ Home Stay
แต่เดิมดอยอินทนนท์มีชื่อว่า “ดอยหลวง” หรือ “ดอยอ่างกา” คำว่า ดอยหลวง หมายถึง ภูเขาที่มีขนาดใหญ่ ส่วนที่เรียกว่าดอยอ่างกานั้น มีเรื่องเล่าว่า ห่างจากดอยอินทนนท์ไปทางทิศตะวันตก 300 เมตร มีหนองน้ำอยู่แห่งหนึ่งลักษณะเหมือนอ่างน้ำ แต่ก่อนนี้มีฝูงกาลงไปเล่นน้ำกันมากมาย จึงเรียกว่า อ่างกา ต่อมาจึงรวมเรียกว่า “ดอยอ่างกา” เมื่อครั้งที่พื้นที่ป่าไม้ทางภาคเหนือ ยังอยู่ในความควบคุมของเจ้าผู้ครอบครองนครต่างๆ นั้นในสมัยพระเจ้าอินทรวิชยานนท์เป็นเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ พระองค์เป็นผู้ที่เห็นความสำคัญของป่าไม้เป็นอันมาก โดยเฉพาะ “ดอยหลวง” พระองค์มีความหวงแหนเป็นพิเศษ ขณะที่ยังมีพระชนม์อยู่ได้สั่งไว้ว่า หากสิ้นพระชนม์ไปแล้วก็ขอให้แบ่งเอาอัฐิส่วนหนึ่งไปบรรจุไว้บนยอดดอยหลวง ด้วย ต่อมาคำว่าดอยหลวงก็ถูกเปลี่ยนเป็น “ดอยอินทนนท์” ตามพระนามของเจ้าผู้ครองนครนั้น และเมื่อขึ้นไปบนยอดเขาสูงนี้ จะเห็นสถูปบรรจุพระอัฐิของพระเจ้า อินทรวิชยานนท์ประดิษฐานอยู่อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 482 ตารางกิโลเมตร ครอบคลุมพื้นที่อำเภอแม่แจ่ม อำเภอจอมทอง และอำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ สภาพภูมิประเทศเป็นเทือกเขาสลับซับซ้อนมีความสูงตั้งแต่ 400-2,565 เมตรจากระดับน้ำทะเล สภาพป่ามีหลายประเภททั้ง ป่าเต็งรัง ป่าเบญจพรรณ ป่าดิบแล้ง และป่าดิบเขา โดยเฉพาะป่าดิบเขาบนยอดดอยสูงสุด นับเป็นธรรมชาติที่โดดเด่นที่สุดนอกจากนี้บนยอดดอยยังพบพืชจากเขตอบอุ่น เช่น กุหลาบพันปี บัวทอง ต่างไก่ป่า ฯลฯ และตามหน้าผาพบป่ากึ่งอันไพน์ ซึ่งเป็นสังคมพืชที่หาดูได้ยากในเมืองไทย ดอยอินทนนท์เป็นศูนย์รวมของนกป่าเกือบ 400 ชนิด โดยเฉพาะนกหายากหลายชนิดที่อาศัยในที่สูง เช่น นกปีกแพร นกกระทาดง นกศิวะ ฯลฯ ในจำนวนนี้มีมากกว่า 100 ชนิด ที่เป็นนกอพยพย้ายถิ่นเข้ามาอาศัยบนดอยอินทนนท์ในช่วงฤดูหนาว หลายชนิดพบได้ยากในพื้นที่อื่น เช่น นกเดินดง นกจับแมลง นกจาบปีกอ่อน นกเขน ฯลฯอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ เดิมเป็นส่วนหนึ่งของป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์และป่าเตรียมการสงวนป่าจอม ทอง อำเภอจอมทอง ป่าแม่แจ่ม และป่าแม่ขาน-แม่วาง อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ ภายใต้การสงวนและคุ้มครองตามพระราชบัญญัติคุ้มครองและสงวนป่า พ.ศ. 2497 และตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2502 โดยออกเป็นกฎกระทรวงฉบับที่ 103 (พ.ศ. 2502) ป่าสงวนแห่งชาติดอยอินทนนท์นี้ต่อมาได้ถูกกำหนดให้เป็น 1 ใน 14 ป่า ที่ทางรัฐบาลให้ดำเนินการสำรวจและจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติแห่งแรก ตามนโยบายของรัฐบาลในด้านการอนุรักษ์ การป้องกันและดูแลรักษาทรัพยากรป่าไม้ และเพื่อการนำเอาสภาพป่าและสภาพภูมิประเทศต่างๆ ของพื้นที่ป่าที่เหลืออยู่มาใช้เพื่อการพักผ่อนหย่อนใจ และเพื่อการศึกษาค้นคว้าวิจัยทางด้านธรรมชาติวิทยาและชีววิทยา
กองบำรุง กรมป่าไม้ ได้มีคำสั่งที่ 119/2508 ลงวันที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2508 (ขณะนั้นเป็นหมวดอุทยานแห่งชาติ สังกัดกองบำรุง) ให้ นายนิพนธ์ บุญทารมณ์ นักวิชาการป่าไม้ตรีไปทำการสำรวจหาข้อมูลเบื้องต้น และเมื่อวันที่ 14 เมษายน 2515 นายปรีดา กรรณสูต ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีบัญชาให้ นายอุดม ธนัญชยานนท์ นักวิชาการป่าไม้โท ทำการสำรวจทางเฮลิคอปเตอร์ เพื่อจัดตั้งพื้นที่ดังกล่าวเป็นอุทยานแห่งชาติ ตามมติคณะกรรมการอุทยานแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2515 ปรากฏว่า ป่าดอยอินทนนท์ มีสภาพเป็นป่าสมบูรณ์ เป็นป่าต้นน้ำลำธาร มีสภาพทิวทัศน์และเอกลักษณ์ทางธรรมชาติที่สวยงาม และเป็นที่อาศัยของสัตว์ป่านานาชนิด เหมาะสมจัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ ประกอบกับศูนย์อำนวยการร่วมฝ่ายรักษาความมั่นคงแห่งชาติได้มีหนังสือที่ กห 0312/4757 ลงวันที่ 12 เมษายน 2515 เสนอจอมพลถนอม กิตติขจร หัวหน้าคณะปฏิวัติ ให้กำหนดป่าดอยอินทนนท์เป็นเขตอุทยานแห่งชาติ และสภาบริหารคณะปฏิวัติได้มีมติเมื่อวันที่ 27 เมษายน2515 อนุมัติหลักการให้ดำเนินการ กรมป่าไม้จึงดำเนินการจัดตั้งบริเวณที่ดินป่าดอยอินทนนท์ ในท้องที่ตำบลบ้านหลวง ตำบลสบเตี้ยะ ตำบลสองแคว ตำบลยางคราม อำเภอจอมทอง ตำบลแม่วิน อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ เนื้อที่ 168,750 ไร่ หรือ 270 ตารางกิโลเมตร เป็นอุทยานแห่งชาติ โดยได้มีประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 223 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 ลงในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 89 ตอนที่ 148 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 เป็นอุทยานแห่งชาติลำดับที่ 6 ของประเทศ
เมื่อวันที่ 16 มกราคม 2517 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ได้เสด็จที่บริเวณดอยขุนกลาง อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ ได้ทรงมีพระราชกระแสรับสั่ง ให้พิจารณาดำเนินการขยายอาณาเขต ของอุทยานแห่งชาติออกไป คลุมถึงบริเวณพื้นที่ที่เป็นแหล่งกำเนิดต้นน้ำต้นน้ำลำธารเพิ่มขึ้นอีก กรมป่าไม้ได้ทำการตรวจสอบและสำรวจเพิ่มเติม ปรากฎว่า ตามที่กำหนดแนวเขตอุทยานแห่งชาติระบุท้องที่ตำบลแม่ศึก ซึ่งมิได้อยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติและมิได้ระบุท้องที่ตำบลช่างเคิ่งและ ตำบลท่าผา ซึ่งอยู่ในแนวเขตอุทยานแห่งชาติ ดังกล่าว ประกอบกับทางราชการกองทัพอากาศประสงค์ที่จะกันพื้นที่บางส่วนเพื่อก่อสร้าง สถานีเรดาร์ เพื่อใช้ในราชการกองทัพอากาศ เนื้อที่ 33 ไร่ 2 งาน 37 ตารางวา และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบให้ดำเนินการได้ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2517 อีกทั้งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประสงค์ที่จะปรับปรุงแนวขยายแนวเขต อุทยานแห่งชาติออกไป โดยกำหนดป่าสงวนแห่งชาติอินทนนท์ ป่าสงวนแห่งชาติจอมทอง และป่าสงวนแห่งชาติแม่แจ่ม จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งที่ประชุมคณะกรรมการแห่งชาติ ครั้งที่ 1/2518 เมื่อวันที่ 4 เมษายน 2518 ได้มีมติเห็นชอบกองอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ จึงดำเนินการเพิกถอนป่าสงวนแห่งชาติทั้ง 3 ป่า จัดตั้งเป็นอุทยานแห่งชาติ โดยมีพระราชกฤษฎีกำหนดบริเวณป่าดอยอินทนนท์ ในท้องที่ตำบลแม่นาจร ตำบลช่างเคิ่ง ตำบลท่าผา อำเภอแม่แจ่ม ตำบลแม่วิน ตำบลทุ่งปี้ อำเภอสันป่าตอง และตำบลสองแคว ตำบลยางคราม ตำบลบ้านหลวง ตำบลสบเตี้ยะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นอุทยานแห่งชาติ ซึ่งลงประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 95 ตอนที่ 62 ลงวันที่ 13 มิถุนายน 2521 รวมเนื้อที่ 301,500 ไร่ หรือ 482.40 ตารางกิโลเมตร โดยให้ยกเลิกประกาศคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 223 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2515 ปัจจุบันอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีพื้นที่ครอบคลุมท้องที่อำเภอจอมทอง อำเภอแม่แจ่ม อำเภอแม่วาง และกิ่งอำเภอดอยหล่อ จังหวัดเชียงใหม่
สถานที่น่าสนใจภายในอุทยานฯ
น้ำตกแม่กลาง เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ซึ่งมีน้ำไหลตลอดปี และมีแอ่งน้ำขนาดใหญ่ให้เล่นน้ำหลายแห่ง แต่ในช่วงฤดูฝนกระแสน้ำไหลแรงจนอาจเป็นอันตรายต่อการเล่นน้ำ น้ำตกแม่กลางอยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานแห่งชาติ จากถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ประมาณ กม.ที่ 8 ก่อนถึงด่านตรวจของอุทยานแห่งชาติ แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าไปประมาณ 1 กิโลเมตร ก็จะถึงน้ำตกแม่กลาง สามารถเดินลัดเลาะตามเส้นทางเดินไปยังศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ซึ่งตั้งอยู่ห่างจากน้ำตกแม่กลางประมาณ 400 เมตร ผ่านเหมืองฝายและภาพเขียนสีผาคันนา
น้ำตกแม่ยะ อยู่ทางทิศใต้ของอุทยานแห่งชาติเป็นน้ำตกขนาดใหญ่ เกิดจากลำห้วยแม่ยะ ไหลลดหลั่นลงมาถึง 30 ชั้น รวมความสูงประมาณ 260 เมตร จนกล่าวกันว่าเป็นน้ำตกที่สวยที่สุดของประเทศ ในช่วงฤดูฝนสายน้ำตกจะแผ่กว้างถึง 100 เมตร ฤดูแล้งปริมาณน้ำอาจลดน้อยลง แต่สายน้ำตกจะใสสะอาดกว่า น้ำตกแม่ยะตั้งอยู่ทางตอนใต้ของพื้นที่อุทยานแห่งชาติ เมื่อเข้าสู่ถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ ได้ประมาณ 1 กิโลเมตร จะมีทางแยกซ้ายไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร
น้ำตกสิริภูมิ เดิมชื่อ น้ำตกเลาลี ตามชื่อของชาวเขา ซึ่งเป็นหัวหน้าหมู่บ้านที่อยู่ใกล้น้ำตกนี้ ต่อมา ม.ร.ว.จักรทอง ทองใหญ่ เมื่อครั้งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ขนานนามว่า “สิริภูมิ” เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนาง -เจ้าพระบรมราชินีนาถ น้ำตกนี้อยู่ที่บ้านขุนกลาง ใกล้ กม.ที่ 31 ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ เป็นน้ำตก 2 สาย ที่ไหลคู่กันลงมาจากหน้าผาสูงซึ่งสามารถมองเห็นได้จากระยะไกล
น้ำตกวชิรธาร มีอีกชื่อหนึ่งเรียกว่า น้ำตกตาดฆ้องโยง เกิดจากลำห้วยแม่กลาง อยู่ประมาณหลักกม.ที่ 22 ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ เป็นน้ำตกขนาดใหญ่ สูงประมาณ 70-80 เมตร สายน้ำไหลตกจากหน้าผาลงสู่แอ่งน้ำเบื้องล่าง มีน้ำไหลตลอดทั้งปี ในยามที่แสงอาทิตย์ส่องกระทบละอองน้ำจะปรากฏสายรุ้งงดงามขึ้นเหนือธารน้ำ ตรงข้ามมีหน้าผาสูงชัน เรียกว่า “ผามอแก้ว” หรือภายหลังเรียกว่า ผาแว่นแก้ว
เส้นทางเดินศึกษาธรรมชาติกิ่วแม่ปาน อยู่ตรง กม.ที่ 42 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ ใกล้กับพระมหาธาตุนภเมทนีดลและพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริ เส้นทางนี้จะผ่านสภาพธรรมชาติที่แตกต่างกัน 2 ลักษณะ คือ ป่าดิบเขากับทุ่งหญ้าบนสันเขา ทางช่วงแรกผ่านเข้าไปในป่าดิบเขาซึ่งมีบรรยากาศร่มครึ้ม มีแสงแดดส่องลงมาเพียงรำไรตามพื้นป่าเต็มไปด้วยเฟินหลากหลายชนิด มีมอสสีเขียวขึ้นคลุมตามโคนต้นไม้และบริเวณริมห้วยที่ชุมชื้น ทางจะเดินขึ้นเขาจนทะลุออกยังทุ่งหญ้าโล่งกว้างของสันกิ่วแม่ปานซึ่งมีแสง แดดจ้าและสายลมแรง ทำให้บรรยากาศเปลี่ยนไปจากสภาพที่ผ่านมาทันที ทุ่งหญ้าบริเวณนี้เคยเป็นป่าดิบเขามาก่อน แต่ได้ถูกบุกรุกทำลายไปจนมีสภาพดังเช่นปัจจุบัน จากนี้ทางเดินจะเลียบไปตามสันเขาที่มีดงต้นกุหลาบพันปี รวมทั้งไม้พุ่มขนาดเล็กอย่างช้ามะยมดอยและต่างไก่ป่า ซึ่งเป็นตัวอย่างของสังคมพืชกึ่งอัลไพน์ให้ศึกษา ทางช่วงสุดท้ายจะเข้าสู่ป่าดิบเขาอีกครั้งและไปสิ้นสุดที่จุดเริ่มต้นของ เส้นทาง รวมระยะทางทั้งหมดประมาณ 3 กิโลเมตร ใช้เวลาในการเดิน 2-3 ชั่วโมง เส้นทางนี้อยู่ที่ระดับความสูงประมาณ 2,000 เมตรจากระดับน้ำทะเล ผู้สนใจต้องติดต่อขอเจ้าหน้าที่นำทางที่ศูนย์บริการนักท่องเที่ยว ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การเดินเที่ยวชมคือ เดือนธันวาคม-มกราคม ส่วนในช่วงเดือนมิถุนายน-ตุลาคม เส้นทางนี้ปิดให้บริการเพื่อให้เวลาธรรมชาติฟื้นตัว
ยอดดอยอินทนนท์ เป็นยอดเขาสูงสุดของประเทศ อากาศบนยอดดอยหนาวเย็นประดุจดังอยู่ในเมืองหนาว ยามฤดูหนาวหนาวจัด มีเมฆหมอกครึ้ม บรรยากาศดังกล่าวไม่อาจหาได้ในส่วนอื่นของประเทศ โดยเฉพาะบริเวณ อ่างกาหลวง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับศูนย์บริการนักท่องเที่ยว เป็นจุดที่สามารถสัมผัสกับธรรมชาติอันชวนหลงไหลของป่าดิบเขาได้ง่ายที่สุด ภายในจัดทำเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติระยะทางประมาณ 300 เมตร โดยใช้สะพานไม้ทั้งหมด เพื่อป้องกันมิให้เหยียบย่ำธรรมชาติอันเปราะบางเสียหาย เส้นทางจะวนกลับมา ณ จุดเริ่มต้น มีป้ายให้ความรู้เรื่องธรรมชาติตลอดเส้นทาง บรรยากาศในอ่างกาหลวงปกคลุมด้วยเมฆที่ลอยพัดผ่านเข้ามาตลอดเวลา อากาศจึงชื้นและเต็มไปด้วยละอองน้ำ ทำให้ต้นไม้ใหญ่ในป่าดิบเขามีมอสและเฟินขึ้นหุ้มเต็มต้นจนแลดูราวกับป่าใน ยุคดึกดำบรรพ์ จุดเด่นของเส้นทางนี้ ได้แก่ ต้นกุหลาบพันปีขนาดใหญ่ โดยเฉพาะในช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ กุหลาบพันปีจะบานอวดดอกสีแดงสดดึงดูดให้นกมากินน้ำหวานและช่วยผสมเกสร เช่น นกกินปลีหางยาวเขียว นกกินปลีหางยาวคอสีฟ้าฯลฯ ส่วนตามโคนต้นกุหลาบพันปีมีข้าวตอกฤาษีขึ้นปกคลุมราวกับพรมธรรมชาติ ข้าวตอกฤาษีเป็นมอสชนิดหนึ่งขึ้นอยู่หนาแน่นมีสีเขียวสลับส้มกับสีน้ำตาล อ่อนๆ มอสชนิดนี้จะขึ้นได้เฉพาะที่สูง ความชื้นมาก และอากาศหนาวเย็นเท่านั้น นอกจากนี้ในอ่างกาหลวงยังมีพรุน้ำจืดที่อยู่สูงที่สุดของประเทศ ซึ่งเป็นถิ่นอาศัยของสัตว์เฉพาะถิ่นหายากบางชนิด และเป็นถิ่นอาศัยของนกบนที่สูงจำนวนมากซึ่งสามารถพบเห็นได้ค่อนข้างง่าย เช่น นกศิวะหางสีตาล นกอีแพรดท้องเหลือง นกกะรางหัวแดง นกจับแมลงหน้าผากขาว ฯลฯ ในช่วงฤดูหนาวยังมีนกอพยพย้ายถิ่นนานาชนิดบินมาอาศัย ทำให้ดอยอินทนนท์เป็นแหล่งดูนกที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ บริเวณจุดสูงสุดบนยอดดอยอินทนนท์นี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระสถูปของพระเจ้า อินทวิชยานนท์ ผู้เป็นที่มาของชื่อดอยอินทนนท์แห่งนี้อีกด้วย
ถ้ำบริจินดา เป็นถ้ำหินปูนขนาดใหญ่ ภายในถ้ำมีความลึกหลายกิโลเมตร เพดานมีหินงอกหินย้อยหรือที่ชาวเหนือเรียกว่า “นมผา” และมีพระพุทธรูปประดิษฐานอยู่ภายใน นอกจากนี้ยังมีธารหิน เมื่อมีแสงสว่างมากระทบจะเกิดประกายระยิบระยับดังกากเพชรงามยิ่งนัก ลักษณะของถ้ำเป็นถ้ำทะลุ แสงสว่างลอดเข้ามาได้ ทางเข้าอยู่ทางขวามือห่างจากด่านตรวจไปประมาณ 500 เมตร เข้าไปตามทางอีกประมาณ 1 กิโลเมตร จนสุดทางที่ริมน้ำแม่หอย จากนั้นต้องเดินข้ามลำน้ำและผ่านป่าไผ่ไปอีก 1 กิโลเมตร จึงถึงถ้ำบริจินดา
จุดชมทิวทัศน์และพระมหาธาตุเจดีย์ จุดชมทิวทัศน์อยู่ตรง กิโลเมตรที่ 41 ของถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ สามารถมองเห็นทิวทัศน์อันกว้างไกลของขุนเขาสลับซับซ้อน โดยเฉพาะยามเช้าจะมีทะเลหมอกปกคลุมเหนือหุบเขาน่าชมมาก จากจุดชมทิวทัศน์สามารถมองเห็นพระมหาธาตุนภเมทนีดล และพระมหาธาตุนภพลภูมิสิริสูงเด่นอยู่คู่กัน สำหรับทางเข้าพระมหาธาตุฯ ทั้งสององค์อยู่ห่างจากจุดชมทิวทัศน์ไปอีกประมาณ 500 เมตร กองทัพอากาศสร้างพระมหาธาตุทั้งสององค์ขึ้นเพื่อน้อมเกล้าฯ ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ บริเวณรอบองค์พระมหาธาตุฯ ประดับตกแต่งด้วยไม้ดอกเมืองหนาวสวยงาม
น้ำตกวังควาย เป็นน้ำตกที่เหมาะในการลงเล่นน้ำในสายน้ำที่เย็นฉ่ำไหลเซาะลดเลี้ยวตามลาน หินลดหลั่นเป็นชั้นๆ พื้นน้ำเป็นทรายเม็ดละเอียด อยู่ห่างจากตัวเมืองเชียงใหม่มาตามถนนสายเชียงใหม่-ฮอด ประมาณหลักกิโลเมตรที่ 58 ก่อนถึงตลาดจอมทองเลี้ยวขวาขึ้นไปตามถนนจอมทอง-ดอยอินทนนท์ระยะทางประมาณ 9.7 กิโลเมตร
น้ำตกสิริธาร ตั้งอยู่ห่างจากตัวอำเภอเชียงใหม่ประมาณ 81 กิโลเมตร ตามเส้นทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ประมาณกิโลเมตร 58 เลี้ยวขวาเข้าสู่ถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ประมาณ 23 กิโลเมตร มีทางแยกเข้าไปจุดชมทิวทัศน์น้ำตกสิริธาร ต้องเดินเท้าเข้าไปอีกประมาณ 100 เมตร คดเคี้ยวไปตามความลาดชันของภูเขา
ดอยขุนกลาง บริเวณกิโลเมตรที่ 31 จะปรากฎสภาพภูมิประเทศโดยรอบจะเป็นทุ่งหญ้าคาเนื่องจากป่าถูกถางลงเมื่อ 50 ปีที่ผ่านมา เป็นดอยที่ลดหลั่นประดุจดังคลื่น โดยเฉพาะในฤดูฝนจะเขียวขจีเป็นทิวทัศน์ที่สวยงามแปลกตาจนน่าบันทึกไว้บนแผ่น ฟิล์ม อย่างไรก็ตามบุคคลทั่วไปก็ยังรักที่จะเห็นป่ามากกว่าทุ่งหญ้าคาแบบนั้น
เส้นทางดูนก กม. 38 อยู่ใกล้กับด่านตรวจอุทยานแห่งชาติ กม. ที่ 37.5 ถนนสายจอมทอง-ยอดดอยอินทนนท์ นักดูนกมักเรียกเส้นทางนี้ว่า jeep track เนื่องจากเป็นทางเดินราบเรียบสะดวกสบายผ่านไปท่ามกลางป่าดิบเขาที่ระดับความ สูง 1,500 เมตรจากระดับน้ำทะเล ซึ่งมีลักษณะแตกต่างจากป่าดิบเขาบริเวณยอดดอยอินทนนท์ โดยมีพันธุ์ไม้ที่น่าสนใจ เช่น พญาไม้มณฑาดอย ฯลฯ สำหรับนกที่พบเห็นได้ง่าย เช่น นกมุ่นรกตาแดง นกขมิ้นแดง นกเปลือกไม้ นกปลีกล้วยลาย นกติ๊ดแก้มเหลือง ฯลฯ รวมทั้งมีนกหายากซึ่งมีรายงานการพบบนเส้นทางนี้ คือ นกปีกแพรสีม่วง และนกปีกแพรสีเขียว
กลุ่มน้ำตกแม่ปาน ประกอบด้วยน้ำตก 8 แห่ง ได้แก่ น้ำตกแม่ปาน น้ำตกผาสำราญ น้ำตกสองพี่น้อง น้ำตกทีลอกุ้ย น้ำตกธารทอง น้ำตกแท่นพระสังข์ น้ำตกป่าบงเบียง และน้ำตกห้วยทรายเหลือง อยุ่ห่างจากที่ทำการอุทยานแห่งชาติ (กม.31) ไปตามถนนสายจอมทอง-ดอยอินทนนท์ ไปยังด่านตรวจที่ 2 (กม.38) แยกซ้ายไปทางอำเภอแม่แจ่มประมาณ 6 กิโลเมตร มีทางแยกขวาเข้าไปหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติที่ อน.2 (แม่แจ่ม) ประมาณ 2 กิโลเมตร ซึ่งทางอุทยานแห่งชาติได้จัดเส้นทางศึกษาธรรมชาติผาสำราญ (น้ำตกแม่ปาน-ห้วยทรายเหลือง) เป็นแส้นทางวงรอบ สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,150 เมตร สามารถเริ่มเดินจากหน่วยพิทักษ์อุทยานแห่งชาติไปตามเส้นทางเข้าน้ำตกแม่ปาน จะพบเห็นน้ำตกได้ทั้ง 8 แห่ง และกลับมายังจุดเริ่มต้นบริเวณหน่วยฯ ชมน้ำตกห้วยทรายเหลือง
ผาแง่มน้อย ผาแง่มน้อย “แง่ม” เป็นภาษาประจำถิ่นของภาคเหนือ มีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า “ง่าม” ในภาษาไทย เป็นคำนามใช้เรียกลักษณะหรือสิ่งที่แยกออกเป็น 2 หรือ 3 ผาแง่มน้อยเป็นหิน 2 แท่ง ตั้งอยู่คู่กันริมเส้นทางเดินชมธรรมชาติกิ่วแม่ปาน หินที่ประกอบขึ้นเป็นผาแง่มน้อยได้แก่หินแกรนิตเนื้อปานกลางยุคไทรแอสซิก มีอายุประมาณ 200 ล้านปีมาแล้ว หินแกรนิตในบริเวณนี้เกิดจากหินหลอมเหลวที่ดันตัวตัดผ่านหินไนส์ ที่มีอายุเก่าแก่มากกว่า 530 ล้านปี ยุคพรีแคมเบรียน เมื่อหินหลอมเหลวที่ยังอยู่ใต้ผิวโลกเย็นตัวลง มวลของหินแกรนิตมีการหดตัวและปรากฏรอยแตกบริเวณขอบของมวลหิน เมื่อเวลาผ่านไปเปลือกโลกมีการเปลี่ยนแปลงอย่างต่อเนื่อง ปรากฏการณ์ที่สำคัญเกิดขึ้นคือ กระบวนการก่อเทือกเขา ทำให้ผิวโลกมีการยกตัวขึ้นเป็นภูเขา ปรากฏการณ์ที่สำคัญต่อมาหลังจากที่หินปรากฏบนผิวโลกคือการผุพังอยู่กับที่ และการกัดกร่อน หินแกรนิตเกิดจากแร่ประกอบหินหลายชนิด เช่น ควอรตซ์ เฟลด์สปาร์ ไบโอไทต์ และมัสโคไวท์ แร่ประกอบหินแต่ละชนิดมีอัตราการผุพังที่ต่างกัน เช่น แร่เฟลด์สปาร์ จะผุพังง่าย และเร็วกว่าแร่ควอรตซ์ ผาแง่มน้อยเป็นหินแกรนิตเช่นเดียวกับหินที่อยู่ข้างเคียง แต่เนื้อหินของผาแง่มน้อยมีปริมาณแร่ควอรตซ์มากกว่าหินที่อยู่ข้างเคียง และหินข้างเคียงก็มีปริมาณแร่เฟลด์สปาร์ที่มากกว่าหินส่วนที่เป็นหน้าผา ผาแง่มน้อยจึงเป็นผลลัพธ์ของความต่างของอัตราเร็วในการผุพัง โดยส่วนที่เป็นผาแง่มน้อยมีความทนทานต่อการผุพังมากกว่าหินที่อยู่ข้างเคียง นอกจากนี้อาจเกี่ยวข้องกับความถี่ของรอยแตกที่หินข้างเคียงมีมากกว่าหินส่วน ที่เป็นผาแง่มนี้ด้วย
หมู่บ้านม้งขุนยะน้อย เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรมม้ง บ้านขุนยะน้อย เป็นหมู่บ้านชาวเขาเผ่าม้ง จำนวนประมาณ 70 หลังคาเรือน อยู่ในพื้นที่สูงจากระดับน้ำทะเลประมาณ 1,300 เมตร มีสภาพอากาศหนาวเย็นตลอดทั้งปี สามารถมองเห็นวิวทิวทัศน์จากพื้นที่สูงได้ไกล บริเวณโดยรอบหมู่บ้านมีสภาพป่าดิบเขาที่ยังคงความสมบูรณ์ และการอนุรักษ์ป่า “ดงเซ้ง” และต้นไม้ขนาดใหญ่ 7-8 คนโอบ การดำเนินชีวิตของชาวเขาเผ่าม้งนี้ยังคงใช้วิถีชีวิตวัฒนธรรมเดิมๆ อยู่มาก เช่น การแต่งกาย การตีมีดแบบดั้งเดิม การโม่ข้าวหรือข้าวโพดด้วยโม่หิน การทำเหล้าข้าวโพด การสร้างบ้าน การทอผ้า และการจัดประเพณีต่างๆ เป็นต้น ในหมู่บ้านมีการบริการที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ Home Sta
หมู่บ้านกะเหรี่ยงแม่แอบใน เป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวเชิงวิถีชีวิตวัฒนธรรมของชาวเขาเผ่ากะเหรี่ยง หรือ ปกาเกอะญอ ชมการดำนินชีวิตที่เรียบง่าย เช่น การทอผ้า การตำข้าว การขับกล่อมบทกลอน “ทา” “ซอ” การเล่นเตหน่า รำดาบ พิธีกรรมที่เกี่ยวข้องกับการเกษตร เช่น การเลี้ยงผีฝาย ผีนา เป็นต้น ในหมู่บ้านมีการบริการที่พักและกิจกรรมการท่องเที่ยวแบบ Home Stay
ที่ตั้งและการเดินทาง
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ 50160
โทรศัพท์ : 0 5326 8550 โทรสาร : 0 5326 8577
รถยนต์
จาก ตัวเมืองเชียงใหม่ เดินทางโดยรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ผ่านอำเภอหางดงและอำเภอสันปาตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 (จอมทอง-ดอยอินทนนท์) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 31
อุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์
อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ 50160
โทรศัพท์ : 0 5326 8550 โทรสาร : 0 5326 8577
รถยนต์
จาก ตัวเมืองเชียงใหม่ เดินทางโดยรถยนต์ไปตามทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 108 (เชียงใหม่-ฮอด) ผ่านอำเภอหางดงและอำเภอสันปาตอง ไปยังอำเภอจอมทอง ก่อนถึงอำเภอจอมทองประมาณ 2 กิโลเมตร เลี้ยวขวาตามทางหลวงจังหวัดหมายเลข 1009 (จอมทอง-ดอยอินทนนท์) จะเริ่มเข้าเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ที่กิโลเมตรที่ 8 (น้ำตกแม่กลาง) และตัดขึ้นสู่ยอดดอยอินทนนท์เป็นระยะทางทั้งหมด 49.8 กิโลเมตร ที่ทำการอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 31
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)